1.
เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา ผู้แต่งคือ
ก. รัชกาลที่ 2 ข.
รัชกาลที่ 3 ค. สุนทรภู่ ง.
ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
2.
เสภาคืออะไร
ก. การขับลำนำเป็นเรื่องราว
ใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะ
ข. การร้องเป็นทำนองสรภัญญะ
ใช้กลองรำมะนาเป็นเครื่องประกอบจังหวะ
ค. การร้องเป็นทำนองแหล่ ใช้ระนาดเป็นเครื่องประกอบจังหวะ
ง. การร้องเป็นทำนองไทยเดิม
ใช้ฉิ่งเป็นเครื่องประกอบจังหวะ
3. “ทุกวันนี้ลูกชายสบายยศ พร้อมหมดเมียมิ่งก็มีสอง
มีบ่าวไพร่ใช้สอยทั้งเงินทอง พี่น้องข้างพ่อก็บริบูรณ์” คำที่ขีดเส้นใต้หมายถึงผู้ใด
ก. นางสร้อยทองและนางสายทอง ข.
นางแก้วกิริยาและนางลาวทอง
ค. นางสร้อยฟ้าและนางศรีมาลา ง. นางสายทองและนางลาวทอง
4.
เมื่อขุนช้างถวายฎีกาต่อสมเด็จพระพันวษา ทำไมต้องถูกเฆี่ยนถึง 30 ที
ก.
ขุนช้างละเมิดกฎหมายในการรักษาความปลอดภัยแก่พระมหากษัตริย์
ข. ขุนช้างสร้างความรำคาญในการเสด็จประพาส
ค.
ขุนช้างไม่รู้จักกาลเทศะความเหมาะสม
ง.
ขุนช้างชอบฟ้องร้องเรื่องไร้สาระ
5.
พฤติกรรมชองใครเกิดจากการใช้อารมณ์เหนือเหตุผล
ก. ขุนช้าง ข. ขุนแผน ค. จมื่นไวย ง. ทุกข้อที่กล่าวมา
6.
“อีแสนถ่อยจัญไรใจทมิฬ
ดังเพชรนิลเกิดขึ้นในอาจม”
ผู้ประพันธ์ใช้โวหารใดในการประพันธ์
ก. อุปลักษณ์ ข. อุปมา ค. สัทพจน์ ง. พรรณนาโวหาร
7.
ข้อใดเป็นวิธีที่ขุนช้างใช้ถวายฎีกา
ก. ไปเข้าเฝ้าที่ท้องพระโรง ข. ลักลอบไปในห้องพระบรรทม
ค.
ฝากขุนนางผู้ใหญ่ไปถวาย ง.
ว่ายน้ำลอยคอถวายฎีกาที่เรือพระที่นั่ง
8.
ข้อใดไม่ใช่ลางสังหรณ์ที่เกิดแก่นางวันทอง
ก.
ดุเหว่าเร้าเสียงสำเนียงก้อง ระฆังฆ้องขานแข่งในวังหลวง
ข. ฝันว่าพลัดไปในไพรเถื่อน เลื่อนเปื้อนไม่รู้ที่จะกลับหลัง
ค. ลดเลี้ยวเที่ยวหลงในดงรัง ยังมีพยัคฆ์ร้ายมาราวี
ง. ใต้เตียงสียงหนูก็กุกกก แมงมุงทุ่มอกที่ริมฝา
9. “ว่าตั้งแต่วันนี้สืบต่อไป หน้าที่ของผู้ใดให้รักษา
ถ้าประมาทราชการไม่นำพา ปล่อยให้ใครเข้ามาในล้อมวง”
คำว่า “ราชการ” หมายถึงเรื่องใด
ก. การอารักขาพระมหากษัตริย์ ข. การแสดงความเคารพต่อพระมหากษัตริย์
ค. การตัดสินคดีความ ง.
การดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
10.
การกราบบังคมทูลเป็นกลางของนางวันทองทำให้ส่งผลอย่างไร
ก.
ที่รูปรวยสวยสมมีถมไป ข.
ให้ฟันฟาดเสียให้เป็นผี
ค. เอาใบตองรองไว้ให้หมากิน ง.
อกเอาขวานผ่าอย่าปรานี
11.
ข้อใดไม่มีสำนวนไทย
ก. เหมือนแมลงวันว่อนเคล้าที่เน่าชั่ว มาเกลือกลั้วปทุมมาลย์ที่หวานหอม
ข. ดอกมะเดื่อหรือจะเจือดอกพะยอม ว่านักแม่จักตรอมระกำใจ
ค. สองมือปิดขาเหมือนท่าเปรต ใครมาเทศน์เอาผ้ากูไปไหน
ง. ดังทองคำทำเลี่ยมปากกะลา หน้าตาดำเหมือนมินหม้อมอม
12. “ครานั้นจึงโฉมเจ้าวันทอง เศร้าหมองด้วยลูกเป็นหนักหนา
พ่อพลายงามทรามสวาดิของแม่อา แม่โศกาเกือบเจียนจะบรรลัย
ใช่จะอิ่มเอิบอาบด้วยเงินทอง มิใช่ของตัวทำมาแต่ไหน
ทั้งผู้คนช้างม้าแลข้าไท ไม่รักใคร่เหมือนกับพ่อพลายงาม
ทุกวันนี้ใช่แม่จะผาสุก มีแต่ทุกข์ใจเจ็บดังเหน็บหนาม
ต้องจำจนทนกรรมที่ติดตาม จะขืนความคิดไปก็ใช่ที”
คำประพันธ์นี้นางวันทองต้องการบอกให้รู้อะไร
ก. บอกถึงความวิตกกังวล ข. รำพันถึงความทุกข์ใจ ค. ให้คำแนะนำ ง. แสดงความท้อใจ
13.
ข้อใดมีน้ำเสียงเชิงตัดพ้อ
ก.
มีธุระสิ่งไรในใจเจ้า พ่อจงเล่าแก่แม่แล้วกลับบ้าน
ข.
เมื่อพ่อเจ้ากลับมาแต่เชียงใหม่ ไม่เพ็ดทูลสิ่งไรแต่สักอย่าง
ค. เล่าความบอกผัวด้วยกลัวภัย ประหลาดใจน้องฝันพรั่นอุรา
ง. มาอยู่ไยกับอ้ายหินชาติ แสนอุบาทว์ใจจิตริษยา
14. “พี่ผิดจริงแล้วเจ้าวันทอง เหมือนลืมน่องหลงเลือนทำเชือนเฉย” ข้อความนี้ใครสำนึกผิดในเรื่องใด
ก. ขุนช้างสำนึกผิด ในเรื่องที่หึงหวงนางวันทองมากเกินไป
ข. ขุนช้างสำนึกผิด
ในเรื่องไม่ดูแลนงวันทองให้ดี จนถูกพลายงามมาลักตัวไป
ค. ขุนแผนสำนึกผิด ในเรื่องที่มีภรรยาหลายคน
ง. ขุนแผนสำนึกผิด ในเรื่องที่ไม่ได้ทูลขอนางวันทองคืนจากขุนช้าง
หลังจากรบชนะเจ้าเชียงใหม่
15. “เจ้าเป็นถึงหัวหมื่นมหาดเล็ก มิใช่เด็ดดอกจงฟังคำแม่ว่า
จงเร่งไปคิดกับบิดา ฟ้องหากราบทูลพระทรงธรรม์”
คำประพันธ์นี้นางวันทองต้องการบอกอะไรให้พลายงาม
ก. ดุด่าว่ากล่าว ข.
พร่ำสอน ค. เตือนสติ ง.
ชักชวน
16.
ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้นางวันทองถูกประหารชีวิต
ก.
นางวันทองเป็นเมียขุนแผนแล้วยังยอมเป็นเมียขุนช้างอีก
ข.
พระพันวษาทรงพระพิโรธนางวันทองที่ไม่ตัดสินใจให้เด็ดขาด
ค.
ขุนแผนไม่ได้เพ็ดทูลของนางวันทองคืนจากขุนช้าง
ง. จมื่นไวยไปลักแม่มาในยามค่ำคืน
17.
ข้อใดไม่มีภาพสะท้อนทางวัฒนธรรม
ก. ถ้ารักน้องป้องปิดให้มิดอาย ฉันกลับกลายแล้วหม่อมจงฟาดฟัน
ข. พระจันทรจรแจ่มกระจ่างดี พระพายพัดมาลีตรลบไป
ค.
ไปเพ็ดทูลเสียให้ทูลกระหม่อมแจ้ง น้องจะแต่งบายศรีไว้เชิญขวัญ
ง. หญิงเดียวชายครองเป็นสองมิตร ถ้ามิปลิดเสียให้เปลื้องไม่ตามใจ
18.
การกระทำของขุนช้างที่ฉุดนางวันทองซึ่งเป็นภรรยาของขุนแผนมาเป็นภรรยาตนนั้น
ถือว่าผิดศีลข้อใด
ก. ข้อ 1. ปาณาติปาตา เวรมณี ข. ข้อ
2. อทินนาทานา เวรมณี
ค. ข้อ 3. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี ง. ข้อ 4.
มุสาวาทา เวรมณี
19. “ พลางเรียกหาข้าไทอยู่ว้าวุ่น อีอุ่นอีอิ่มอีฉิมอีสอน
อีมีอีมาอีสาคร นิ่งนอนไยหวามาหากู”
คำประพันธ์นี้ขุนช้างเรียกคนใช้ทั้งหมดกี่คน
ก. 6 คน ข. 7 คน ค.
8 คน ง.
9 คน
20.
“พี่ผิดพี่ก็มาลุแก่โทษ จะคุมโกรธคุมแค้นไปถึงไหน
ความรักพี่ยังรักระงมใจ อย่าตัดไมตรีตรึงให้ตรอมตาย” คำประพันธ์นี้ใช้โวหารข้อใด
ก. เสาวรจนี ข.
นารีปราโมทย์ ค. พิโรธวาทัง ง. สัลลาปังคพิสัย
21.
“คิดคะนึงตะลึงตะลานอก ดังตัวตกพระสุเมรุภูผา” คำประพันธ์ข้างต้น มีลักษณะดีเด่นอย่างไร
ก. มีการใช้โวหารภาพพจน์ ข. มีการเล่นสัมผัส
ค. ใช้การบรรยายให้เห็นภาพ ง. ทุกข้อที่กล่าวมา
22.
ข้อใดไม่มีอุปมาโวหาร
ก. หญิงเดียวชายครองเป็นสองมิตร ถ้ามิปลิดเสียให้เปลืองไม่ตามใจ
ข. คราวนั้นเมื่อตามไปกลางป่า หน้าดำเหมือนหนึ่งทามินหม้อไหม้
ค. ชนะความงามหน้าดังเทียนชัย เขาฉุดไปเหมือนลงทะเลลึก
ง. เจ้าพลายงามตามรับเอากลับมา ทีนี้หน้าจะดำเป็นน้ำหมึก
23.
คำประพันธ์ในข้อใดไม่เข้าลักษณะ พิโรธวาทัง
ก. ไม่มีอาญาสิทธิ์คิดดึงโดน เที่ยวทำใจคะนองจองหองครัน
เลี้ยงมึงไม่ได้อ้ายใจร้าย ชอบแต่เฆี่ยนสองหวายตลอดหลัง
ข. ถ้าฉวยเกิดฆ่าฟันกันล้มตาย อันตรายไพร่เมืองก็เคืองกู
อีวันทองกูให้อ้ายแผนไป อ้ายช้างบังอาจใจทำจู่ลู่
ค. ฉุดมันขึ้นช้างอ้างถึงกู ตะคอกขู่อีวันทองให้ตกใจ
ชอบตบให้สลบลงกับที่ เฆี่ยนตีเสียให้ยับไม่นับได้
ง. จะรักชู้ชังผัวมึงกลัวอาย จะอยู่ด้วยลูกชายก็ไม่ว่า
ตามใจกูจะให้ดังวาจา แต่นี้เบื้องหน้าขาดเด็ดไป
24.
จากข้อ 23 ข้อใดแสดงถึงการวางอำนาจของขุนช้างชัดเจนที่สุด
ก. ข้อ ก ข. ข้อ ข
ค.ข้อ ค ง. ข้อ ง
25. ข้อใดคือเหตุผลที่วันทองต้องถูกลงพระอาญารุนแรงถึงขั้น
“อกเอาขวานผ่าอย่าปรานี อย่าให้มีโลหิตติดตีนกู
เอาใบตองรองไว้ให้หมากิน ตกดินจะอัปรีย์กาลีอยู่”
ก. ว่าหญิงชั่วผัวยังคราวละคนเดียว หาตอมกันเกลียวเหมือนมึงไม่
ข. กูเลี้ยงมึงให้ถึงเป็นหัวหมื่น คนอื่นรู้ว่าแม่ก็ขายหน้า
ค. ที่รูปรวยสวยสมมีถมไป มึงตัดใจเสียเถิดอีคนนี้
ง. รูปงามนามเพราะน้อยไปหรือ ใจไม่ซื่อสมศักดิ์เท่าเส้นผม
26.
เรื่องขุนช้างขุนแผนมีเนื้อหาสาระที่คนชอบเพราะเหตุผลใดเป็นสำคัญ
ก. เรื่องที่มีหลายรส หลายอารมณ์ ข.
เรื่องที่ไม่เป็นไปตามใจหวัง
ค. เรื่องที่ไม่สมหวังของตัวละคร ง.
เรื่องที่สะท้อนชีวิตของคนสมัยก่อน
27.
ข้อใดไม่แสดงอาการเคลื่อนไหว
ก. ย่างท้าวก้าวไปในทันที มิได้มีใครทักแต่สักคน
ข.โอ้แม่เจ้าประคุณของลูกเอ๋ย ไม่ควรเลยจะพรากจากคุณพ่อ
ค. ชมพลางย่างเยื้องชำเลืองมา เปิดมุ้งเห็นหน้าแม่วันทอง
ง. พลางนั่งลงนอบนบอภิวันท์ สะอื้นอั้นอกแค้นน้ำตาคลอ
28.
ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์
ก. ดูเวลาปลอดห่วงทักทิน ข. เสกขมิ้นว่านยาเข้าทาตัว
ค. เงียบสัตว์จัตุบททวิบาท ง. ลงยันต์ราชะเอาปะอก
29.
“อึดอัดฮึดฮัดด้วยขัดใจ”
คำประพันธ์ที่ยกมานี้ มีลักษณะเด่นในเรื่องใด
ก. ความล้มเหลว ข. การเล่นอักษร
ค.
การเล่นคำ ง. การเล่นสัมผัส
30. “ขุนช้างเห็นข้าไม่มาใกล้ ขัดใจลุกขึ้นทั้งแก้ผ้า
แหงนเถ่อเป้อปังยืนจังกา ย่างท้าวก้าวมาไมรู้ตัว” คำที่ขีดเส้นใต้หมายถึงข้อใด
ก. มองดู ข. นิ่งเฉย
ค. ค้างอยู่ ง.
เดินด้วยอาการไว
ขอบคุณที่มา
https://sites.google.com/a/web1.dara.ac.th/thai/1-wrrnkhdi/1-3-khun-chang-khunphaen-txn-khun-chang-thway-dika/1-3-1-baeb-thdsxb