สรุปความรู้ เรื่อง กาพย์เห่เรือ
บทเห่เรือที่เก่าแก่และได้รับความนิยมจนถือเป็นแบบแผนในการประพันธ์บทเห่เรืออื่นๆ จนถึงปัจจุบัน คือ “กาพย์เห่เรือ” บทพระนิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ หรือพระนามที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร หรือ เจ้าฟ้ากุ้ง พระองค์ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2248 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ประสูติแต่กรมหลวงอภัยนุชิต
![กาพย์เห่เรือ กาพย์เห่เรือ](https://img-ha.mthcdn.com/AgToNQndNiDiw4fNGVWXGSLYVdU=/campus.campus-star.com/app/uploads/2019/05/iStock-471047504-e1559126566713.jpg)
เจ้าฟ้ากุ้งมีพระปรีชาสามารถหลายด้าน โดยเฉพาะด้านวรรณกรรม ทรงพระนิพนธ์วรรณกรรมไว้หลายเรื่อง เช่น กาพย์เห่เรือนันโทปนันทสูตรคำหลวง พระมาลัยคำหลวง กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก กาพย์เห่เรือเรื่องกากี เป็นต้น
![](https://img-ha.mthcdn.com/hnmsVwyT_YJkOly_Oe57sT8OuaI=/campus.campus-star.com/app/uploads/2019/05/IMG_1232-1.jpeg)
กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้ากุ้งมีจุดประสงค์ คือ ใช้สำหรับเห่เรือพระที่นั่งของพระองค์ เมื่อตามเสด็จทางชลมารค (เดินทางทางน้ำ) ไปยังพระพุทธบาท จ. สระบุรี นอกจากนั้นการเห่เรือยังเป็นการให้จังหวะแก่ฝีพายอีกด้วยค่ะ
![สรุปความรู้เรื่อง กาพย์เห่เรือ - วรรณคดีวิจักษ์ ระดับชั้น ม.6 สรุปความรู้เรื่อง กาพย์เห่เรือ - วรรณคดีวิจักษ์ ระดับชั้น ม.6](https://img-ha.mthcdn.com/AvT2o6d4Wlmcc5J7Qu0CURaeLac=/campus.campus-star.com/app/uploads/2019/05/IMG_1232.jpeg)
ลักษณะคำประพันธ์ของกาพย์เห่เรือ นั้น เรียกว่า “กาพย์ห่อโคลง” คือ โคลงสี่สุภาพขึ้นต้นบท 1 บท ตามด้วยกาพย์ยานี 11 1 บท ที่มีความหมายเหมือนโคลงต้นบท และตามด้วยกาพย์ยานี 11 จนกว่าจะจบกระบวนความ
![กาพย์เห่เรือ กาพย์เห่เรือ](https://img-ha.mthcdn.com/sLP6_eIP1JD73-pCUUKlM46mwb4=/campus.campus-star.com/app/uploads/2019/05/bbboat.jpg)
ทำนองหรือลำนำที่ใช้ในการเห่เรือ
ทำนองหรือลำนำที่ใช้ในการเห่เรือ เป็นการให้จังหวะแก่ฝีพายให้พายตามจังหวะทำนองการร้อง เพื่อความสวยงามและความพร้อมเพรียง ทำนองที่ใช้ในการเห่เรือปัจจุบันมี 3 ทำนอง คือ ช้าละวะเห่ มูลเห่ และสวะเห่
ก่อนการเริ่มต้นเห่เรือตามทำนองดังกล่าว เมื่อเรือพระที่นั่งทรงเริ่มออกจากท่ามาเข้ากระบวน พนักงานต้นเสียงเห่เรือก็จะขึ้นต้น เกริ่นเห่ เป็นทำนองตามเนื้อความในโคลงสี่สุภาพก่อน จึงมักเรียกว่า “เกริ่นโคลง” ซึ่งเป็นการให้สัญญาณเตือนฝีพายให้เตรียมพร้อม เพื่อจะเคลื่อนกระบวนและดำเนินทำนองต่อไปนี้
1.ช้าละวะเห่ มาจาก ช้าแลว่าเห่ เป็นทำนองที่ใช้เริ่มต้นการเห่ ถือเป็นการให้สัญญาณเริ่มต้นเคลื่อนเรือในกระบวนทุกลำออกจากท่าไปพร้อมกันอย่างช้าๆ และใช้ทำนองนี้เมื่อพายเรือตามกระแสน้ำ
2. มูลเห่ หรือในการเห่เรือเล่น เรียกว่า เห่เร็ว เป็นการเห่ในจังหวะกระชั้นกระชับ ฝีพายจะเร่งพายให้เร็วกว่าเดิมตามจังหวะกระทุ้งเส้า และใช้ทำนองนี้ขณะพายเรือทวนน้ำ
3. สวะเห่ เป็นการเห่เมื่อใกล้จะถึงที่หมายหรือเรือใกล้จะเทียบท่า
![กาพย์เห่เรือ กาพย์เห่เรือ](https://img-ha.mthcdn.com/cvIRcx3Gyx728hlXemjmCA_V54M=/campus.campus-star.com/app/uploads/2019/05/botahtt.jpeg)
ชื่อนก – หัวโขน – หัวเรือ
![](https://img-ha.mthcdn.com/A0pKVBmOgKrMa5yMtEQD7zoi32Y=/campus.campus-star.com/app/uploads/2019/05/IMG_1231.jpeg)
เนื้อหาของกาพย์เห่เรือ ประกอบด้วยบทเห่ 4 ตอน
ตามช่วงเวลาใน 1 วัน ได้แก่
– ตอนเช้า เห่ชมเรือกระบวน
– ตอนสาย เห่ชมปลา
– ตอนบ่าย เห่ชมไม้
– ตอนเย็น เห่ชมนก
– ตอนสาย เห่ชมปลา
– ตอนบ่าย เห่ชมไม้
– ตอนเย็น เห่ชมนก
จบลงด้วยยามค่ำ บทเห่ครวญ เป็นบทคร่ำครวญ พรรณนาถึงนางอันเป็นที่รัก
ขอขอบคุณแหล่งที่มา
https://campus.campus-star.com/variety/114731.html
ขอขอบคุณแหล่งที่มา
https://campus.campus-star.com/variety/114731.html