เสภาขุนช้างขุนแผน
เดิมเรื่องขุนช้าง ขุนแผน เล่าเป็นนิทาน
แต่เนื่องจากเป็นเรื่องที่ยาวมาก เมื่อแต่งเป็นกลอน
และขับเป็นลำนำด้วยก็ยิ่งจะต้องใช้เวลามาก ไม่สามารถจะขับให้ตลอดเรื่องในคืนเดียวได้
บทเสภาที่แต่งขึ้นจึงแต่งแต่เป็นตอนพอที่จะขับได้ภายในหนึ่งคืน ดังนั้น
บทเสภาเดิมตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า หรือที่ แต่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
จึงแต่งเป็นท่อนเป็นตอน ไม่เป็นเรื่องติดต่อเหมือนกับบทละคร
การเอาบทเสภามารวมติดต่อกันให้เป็นเรื่องโดยสมบูรณ์ เพิ่งทำในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ
หนังสือเสภาสมัยกรุงเก่าน่าจะสูญหายหมด
เนื่องจากผู้ที่แต่งหนังสือเสภาสำหรับขับหากิน น่าจะปิดบังหนังสือของตน
เพื่อป้องกันผู้อื่นมาแข่งขัน จะให้อ่านเพื่อท่องจำ
ก็เฉพาะในหมู่ศิษย์และคนใกล้ชิด ด้วยสภาพดังกล่าวหนังสือเสภาจึงสาบสูญได้ง่าย ไม่เหมือนหนังสือประเภทอื่น
เช่น หนังสือบทละคร และหนังสือสวด
ดังนั้น บทเสภาครั้งกรุงเก่า
จึงตกมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์เพียงเล็กน้อย จากการจดจำกันมาและมีไม่มากตอนตำนานเสภาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
มีหลักฐานแสดงที่มาได้ค่อนข้างดี ซึ่งจะพบได้จากกลอนของสุนทรภู่ กลอนไหว้ครู
ที่ได้มีการเอ่ยชื่อครูเสภาไว้หลายท่าน พร้อมทั้งผลงานของท่านเหล่านั้น
ที่ให้ไว้ในงานเสภา เช่น ครูทองอยู่ ครูแจ้ง ครูสน ครูเพ็ง พระยานนท์ เป็นต้น
ส่วนครูปี่พาทย์ก็มีครูแก้ว ครูพัก ครูทองอิน ครูมีแขก ครูน้อย เป็นต้น
หนังสือเสภาที่แต่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ฯ จะแต่งเป็นตอน ๆ
แต่ละตอนยาวประมาณ ๒ เล่มสมุดไทย พอจะขับได้ภายในหนึ่งคืน หนังสือเสภาเรื่องขุนช้าง
ขุนแผน ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน แต่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ
เท่าที่รวบรวมได้ในหอพระสมุด มีต่างกันถึง ๘ ฉบับ และยังมีฉบับปลีกย่อยอีกต่างหาก
รวมประมาณ ๒๐๐ เล่ม สมุดไทย
ที่มาของเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
(๑)
เรื่องนี้เชื่อกันว่าเกิดขึ้นจริงในสมัยสมเด็จพระพันวษา แห่ง กรุงศรีอยุธยา
- ตำนวนเดิมเล่าเพียงว่า มีนายทหารผู้มีฝีมือนายหนึ่ง มีตำแหน่งเป็นขุนแผน
ได้ถวาย ดาบฟ้าฟื้นแด่สมเด็จพระพันวษา
(๒) ต่อมามีการนำเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
มาแต่งเป็นกลอนสุภาพและใช้ บทขับเสภา โดยใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะ
- บทขับเสภาที่นิยมมากที่สุดคือเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
ซึ่งได้รับการยกย่อจากวรรณคดีสโมสรว่า เป็นยอดของกลอนสุภาพที่มีความไพเราะ
ดีเลิศ ทั้งเนื้อเรื่องและกระบวนกลอน
(๓) บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน
มีกวีเอกหลายท่านร่วมกันแต่ง สันนิษฐานว่าแต่งตั้งแต่สมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า
*ตอน ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง และตอน ขุนแผนพานางวันทองหนี
เป็นพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
*ตอนขุนช้างขอนางพิม และ ตอนขุนช้างตามนางวันทอง
เป็นพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์)
*ตอน กำเนิดพลายงาม เป็นสำนวนของสุนทรภู่
(๔) ตอน ขุนช้างถวายฎีกานี้ ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
แต่เป็นหนึ่งใน ๘ ตอนที่ได้รับการยกย่องจากสมาคมวรรณคดี (สมัย ร.๗)
ว่าแต่งดีเป็นเยี่ยม โดยเฉพาะกระบวนกลอนที่สื่ออารมณ์สะเทือนใจ